เพลาท้าย (Rear axle)

เพลาท้าย ทำหน้าที่ส่งถ่ายแรงบิดจากเฟืองท้ายไปขับเคลื่อนล้อรถให้ล้อ

รถหมุนเคลื่อนที่ ดังนั้น จึงต้องทำด้วยเหล็กกล้าชนิดพิเศษที่ทนแรงบิด

จากการส่งถ่ายกำลังได้สูงซึ่งก็มีใช้ทั้งรถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหน้าและ

ล้อหลังแต่ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับลักษณะของการออกแบบให้มีความ

เหมาะสมกับสภาพของการเคลื่อนที่

ชนิดของเพลาท้าย

สำหรับรถยนต์ที่ขับเคลื่อนล้อหลังเพลาท้ายจะถูกจัดแบ่งออกตามลักษณะ

จัดวางของลูกปืนระหว่างเพลาท้ายกับเสื้อเพลา ที่ใช้งานปัจจุบันแบ่ง

ออกได้ 3 ชนิด ดังนี้คือ

1. เพลาแบบกึ่งลอย (Semi-floating axles)

s

เพลาแบบนี้ลูกปืนจะถูกจัดวางตำแหน่งให้อยู่ระหว่างเสื้อเพลาท้ายกับ

เพลาท้าย ซึ่งเพลาท้ายจะเป็นตัวรับน้ำหนักของรถทั้งหมด และยังรับ

ความเค้นที่เกิดจากการเลี้ยวอย่างเต็มที่ดังนั้นจึงทำให้เพลาแบบนี้เป็น

ที่นิยมใช้กับรถยนต์นั่ง และรถบรรทุกขนาดเล็ก เนื่องจากมีความแข็งแรง

และบำรุงรักษาง่าย เพลาท้ายนี้ทำหน้าที่

1. รับน้าหนักรถยนต์

2. รับส่งกาลังการหมุนและแรงบิดจากเฟืองท้ายไปขับล้อ

3. รับแรงเบียดด้านข้างของล้อ

2 เพลาแบบลอย (Full-floating axles)

f

เป็นเพลาที่นิยมใช้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่ เพราะสามารถบรรทุกน้ำหนัก

ได้มาก การซ่อมบารุงรักษาสะดวก เพราะการถอดเพลาข้างไม่จำเป็น

ต้องถอดล้อรถยนต์


3 เพลาแบบลอยสามส่วนในสี่ส่วน (Three-quarter axles)

34

เพลาท้ายแบบนี้ที่ปลายของเพลาจะถูกยึดติดกับแปลนของดุมล้อโดยตรง

ลูกปืนรองรับจะติดตั้งอยู่ระหว่างดุมล้อกับเสื้อเพลา เป็นเพลาที่นิยมใช้กับ

รถกระบะและรถบรรทุกขนาดกลาง การรับน้าหนักเพลาขับจะรับน้าหนัก ¼

ส่วนเสื้อเพลาท้ายจะรับน้าหนัก ¾ ดังนั้นน้ำหนักของรถจึงตกลงที่เสื้อ

เพลาท้ายแทนเพลาท้าย แต่อย่างไรก็ตาม ล้อที่สวมอยู่กับดุมล้อจะทำให้

ปลายด้านนอกของเพลารับความเค้นในขณะที่เลี้ยวโค้งและลื่นไถลเช่น

เดียวกับเพลาแบบกึ่งลอยตัว เพลาท้ายแบบนี้ทำหน้าที่

1. รับส่งกำลังการหมุนและแรงบิดจากเฟืองท้ายไปขับล้อ

2. รับแรงเบียดด้านข้างของล้อ