เฟืองท้ายแบบธรรมดา
(Conventional differential)
ส่วนประกอบของเฟืองท้ายแบบธรรมดา
ชี้ที่ตัวเลข เพื่อศึกษาชื่อชิ้นส่วน
เฟืองเดือยหมูและเฟืองบายศรีที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมีดังนี้
1. แบบเฟืองฟันตรง (Spur bevel gear)
ฟันของเฟืองเดือยหมูและเฟืองบายศรีมีลักษณะตรงโดยเฟือง
เดือยหมูติดตั้งอยู่ในแนวกึ่งกลางของเฟืองบายศรีหน้าสัมผัส
ของฟันเฟืองทั้งสองจะขบกันทีละคู่ฟันเฟืองแบบนี้สึกหรอง่าย
และมีเสียงดัง จึงไม่นิยมใช้ในปัจจุบัน
2. เฟืองแบบฟันโค้ง (Spiral Bevel Gear)
เฟืองแบบนี้เหมาะสำหรับใช้งานหนักเฟืองเดือยหมูจะติดตั้งอยู่ใน
แนวกึ่งกลางของ เฟืองบายศรี ทำให้ฟันเฟืองสามารถรับแรง
ได้มากขึ้น มีการสึกหรอน้อย แต่จะมีเสียงดังมากกว่าแบบ
ฟันโค้งและเฉียง
ู
3. เฟืองแบบฟันโค้งและเฉียง (Hypoid Bevel Gear)
เฟืองแบบนี้นิยมใช้กับรถโดยสารและรถบรรทุกขนาดเล็ก
เฟืองเดือยหมูจะติด ตั้งอยู่ต่ำกว่าแนวศูนย์กลางของเฟือง
บายศรีซึ่งมีข้อดีก็คือความสูงของรถยนต์จะลดลงต่ำได้
เฟืองแบบนี้ขณะทำงานจะมีเสียงดังน้อย ฟันเฟืองจะสัมผัส
กันหลายฟันรับแรงขับได้ดีแต่ในขณะทำงานจะเกิดแรงกดดัน
สูงระหว่างฟันเฟืองทำให้น้ามันหล่อลื่นซึ่งอยู่ระหว่างฟันเฟือง
ขบกันจะถูกฟันเฟืองปาดออกดังนั้นควรเลือกใช้น้ำมันหล่อลื่น
ชนิดพิเศษสำหรับเฟืองท้ายแบบนี้เท่านั้น
4.แบบเฟืองตัวหนอน (Worm gear)
เฟืองแบบนี้จะถูกใช้ในรถประเภทรถบรรทุกหนัก เพราะสามารถให้
อัตราทดของเฟืองได้มาก