วาล์วแบบผสมและอื่นๆ
ในบางครั้งเรียกวาล์วนี้ว่าวาล์วตั้งเวลา เป็นวาล์วที่ผสมกันระหว่าง
วาล์วปรับอัตราการไหลทางเดียวกับวาล์วควบคุม3ทิศทาง2ตำแหน่ง
แบบปกติปิด วาล์วนี้จะถูกใช้ในวงจรที่ต้องการตั้งเวลาในการทำงาน
-ขณะปกติ สปริงจะดันให้วาล์วควบคุม3ทิศทาง2ตำแหน่งปิดรูPไว้และเปิดให้
รูAต่อกับรูR
-เมื่อป้อนสัญญาณลมที่รูZ ลมจะไหลผ่านวาล์วปรับอัตราการไหล
เข้าไปสะสมในห้องพักลม(์ชี้ที่Z)
-เมื่อลมเต็มห้องพักลม ลมจะดันให้วาล์วเลื่อนไปด้านขวามือ
ลมจากรูP จะไหลผ่านไปยังรูAได้ ส่วนรูRจะถูกอุดตัน (ชี้ที่ลูกสูบ)
-เมื่อเอาลมสัญญาณควบคุมออกจากรูZ สปริงจะดันให้ลูกสูบเลื่อน
กลับตำแหน่งปกติ (์ชี้ที่สปริง) ลมในห้องพักลมจะดันให้วาล์ว
กันกลับเปิดขึ้น แล้วลมก็จะระบายออกได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องไหล
ผ่านวาล์วปรับอัตราการไหล
จากรูป เป็นวงจรที่ใช้วาล์วหน่วงเวลาร่วมในวงจรที่ใช้บังคับการทำงานของ
กระบอกสูบแบบสองทาง เมื่อกดวาล์ว 1.2 ก้านสูบจะเคลื่อนที่ออก
และเมื่อก้านสูบไปเตะวาล์ว 1.5 จะไม่เคลื่อนที่กลับทันที ลมที่ผ่านวาล์ว
1.5 จะไปเข้าวาล์วหน่วงเวลา 1.3 ตามที่ตั้งเวลาไว้แล้วจึงจะสั่งให้ก้านสูบ
เคลื่อนที่กลับนั่นหมายความว่า เมื่อก้านสูบเคลื่อนที่ออกจะมา
หยุดอยู่ช่วงหนึ่งก่อน
จากรูป เป็นวงจรที่ใช้วาล์วหน่วงเวลาบังคับกระบอกสูบทำงานสองทาง โดย
ตั้งเวลาตั้งแต่ก้านสูบเคลื่อนที่ออกไป เมื่อถึงเวลาที่ตั้งไว้ จะกลับทันที
โดยไม่จำเป็นต้องสุดระยะก่อนก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาที่ตั้งไว้
การใช้วัสดุจับยึดวัสดุผิวเรียบ หรือชิ้นงานเบาๆ ที่มีผิวเรียบมีใช้กัน
อย่างกว้างขวางในงานส่งถ่ายวัสดุต่างๆนิยมใช้หัวจับสูญญากาศใน
การทำงาน ตามปกติจะต้องมีปั๊มสูญญากาศเพื่อสร้างสูญญากาศป้อน
ให้หัวจับ แต่เพื่อเป็นการลดภาระที่ต้องจัดหาปั๊มสูญญกาศจึงได้มีการนำ
อุปกรณ์สร้างสูญญากาศ(Vacuumgenerator)มาช่วยสร้างสูญญากาศแทน
หลักการทำงาน : อุปกรณ์สร้างสูญญากาศจะอาศัยหลักการเอาลมอัด
เป่าผ่านคอคอดเพื่อให้บริเวณดังกล่าวเกิดสูญญากาศขึ้น อากาศใน
หัวจับจะถูกดูดออกมาด้วย ดังนั้นในบริเวณดังกล่าวจึงเกิดสูญญากาศขึ้น
ระดับสูญญากาศจะมีค่ามากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปริมาณความเร็ว
และปริมาณลมอัดที่เป่าผ่านคอคอด นอกจากนั้นแรงของหัวจับจะมีค่า
มากถ้าพื้นที่ในการจับมีมาก
ในระบบหรือวงจรนิวแมติกบางครั้งอาจจำเป็นต้องมีการนับรอบ
การทำงานของอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งหรือนับจำนวนของชิ้นงานในระบบ
ซึ่งตัวนับจะเป็นอุปกรณ์ที่จะใช้ในการตอบสนองความต้องการดังกล่าว
ตัวนับในระบบนิวแมติกสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทด้วยกันคือ
แบบนับอย่างเดียว กับแบบตั้งจำนวนได้
1. ตัวนับแบบนับอย่างเดียว
ตัวนับแบบนี้ยังสามารถแบ่งออกได้อีก 2 ประเภท
คือแบบไม่มีรีเซ็ทและแบบมีรีเซ็ท
หลักการทำงาน : สัญญาณลมที่ป้อนเข้าที่ z จะต้องมีการ
เปลี่ยนแปลงแบบ ปิด- เปิดกล่าวคือเมื่อป้อนสัญญาณเข้าที่z
หนึ่งครั้งตัวนับจะนับหนึ่ง เมื่อป้อนสัญญาณลมครั้งที่สอง
ตัวนับจะนับสอง เช่นนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงค่าสูงสุด
ที่ตัวนับจะนับๆได้ ในกรณีที่ตัวนับยังนับไม่ถึงค่าสูงสุด
แต่ต้องการกลับมาเริ่มนับใหม่ ให้ใช้ตัวนับแบบ รีเซ็ท ได้
ซึ่งอาจจะใช้การกดหรือใช้สัญญาณลมก็ได้
2. ตัวนับแบบตั้งจำนวนได้
หลักการทำงาน เช่นเดียวกันตัวนับแบบอย่างเดียว
แต่เมื่อไรก็ตามที่ตัวนับนับถึงค่าที่ตั้งไว้ สัญญาณลมจากรู P
สามารถไหลผ่านไปรู A ได้ ซึ่งสัญญาณที่ใช้นี้สามารถนำ
ไปเลื่อนควบคุมทิศทาง เพื่อนำไปควบคุมการทำงาน
อีกต่อหนึ่งก็ย่อมได้ และในกรณีที่ต้องการกลับมาเริ่ม
นับใหม่ก็สามารถกระทำได้ โดยใส่สัญญาณลมที่รูลม Y
หรือกดปุ่มรีเซ็ทกลับมาเริ่มนับใหม่ก็ย่อมได้
จากรูป เป็นวงจรที่ถูกออกแบบให้ทำงานแบบอัตโนมัติ
คือเมื่อกดวาล์ว 1.2 ค้างไว้ ลูกสูบจะมีการเคลื่อนที่ออก-เข้าไปเรื่อยๆ
เมื่อจำนวนครั้งที่ลูกสูบเคลื่อนที่ออกครบตามจำนวนที่ตั้งไว้
ตัวนับ(หมายเลข1.7)จะส่งสัญญาณลมผ่านไปยังวาล์หมายเลข1.5
ทำให้เกิดการตัดลมที่จะไปยังหมายเลข1.2 ลูกสูบก็จะหยุดทำงาน
เมื่อต้องการที่จะเริ่มทำงานอีกครั้งต้องทำการรีเซ็ตที่วาล์ว
หมายเลข1.9หรือกดที่ปุ่มรีเซ็ต