วาล์วระบายความดัน (Pressure relief valve)

วาล์วระบายความดันเป็นวาล์วที่ถูกใช้ในวงจรไฮดรอลิกเพื่อควบคุม

ความดันสูงสุดของน้ำมันในระบบ หลักการทำงานของวาล์ว คือ เมื่อ

ความดันของน้ำมันในระบบสูงถึงค่ากำหนดที่ตั้งไว้ที่สปริงแล้ว วาล์ว

จะเปิดให้น้ำมันไหลระบายสู่ถังพักน้ำมัน  เพื่อจำกัดความดันไม่ให้สูงเกิน

กว่าค่าที่กำหนดไว้

วาล์วระบายความดันแบ่งชนิดได้ 2 แบบตามการทำงานคือ

แบบทำงานโดยตรง และแบบควบคุมการทำงานโดยวาล์วไพลอต

1. แบบทำงานโดยตรง (Direct operated relief valve)

re1

ภายในวาล์วประกอบด้วยตัววาล์วที่ติดกับสปริงทำหน้าที่ต้านความดัน

ของระบบและทำให้วาล์วอยู่ตำแหน่งปกติปิดวาล์วจะเปิดโดยใช้ความดัน

น้ำมันดันกระทำโดยตรงที่ตัววาล์ว เมื่อเอาชนะแรงสปริงที่ตั้งไว้เพื่อเปิด

ให้น้ำมันไหลกลับถังพักและจะควบคุมความดันให้คงที่ตลอดเวลา แต่

วาล์วแบบนี้มีข้อเสียคือ จะมีการกระทบกันระหว่างตัววาล์วกับบ่าตลอดเวลา

ที่วาล์วทำงาน ทำให้เกิดเสียงดังและทำให้เกิดการสึกหรอเร็ว ปรับค่า

ความดันได้ต่ำไม่เหมาะกับวงจรที่มีปริมาณการไหลมากและความดันสูง

(เลือกที่ตัว P เพื่อศึกษาการทำงาน)

 

2. วาล์วระบายความดันแบบไพลอต(Pilot operated relief valve)

วาล์วระบายความดันแบบนี้มีโครงสร้างยุ่งยากกว่าแบบทำงานโดยตรง

เพราะมีการทำงานเป็น 2 ขั้นตอน แต่มีความไวและเที่ยงตรงกว่า

แบบทำงานโดยตรง

rel

หลักการทำงานของวาล์ว  

คอคอดที่ลูกสูบเมนวาล์วและขึ้นไปข้างบนแต่ไหลต่อไปไม่ได้เพราะวาล์ว

ไพลอต ปิดบ่าวาล์วอยู่ น้ำมันทางด้านหน้าเมนวาล์วยังคงส่งผ่านคอคอด

ตลอดเวลา

สปริงที่กดวาล์วไพลอต วาล์วไพลอตจะเปิดออก และน้ำมันบางส่วน

จะไหลออกรู T ระบายลงถัง T (เลือกวาล์วไพลอตสีเขียว)

มีผลให้ความดันน้ำมันด้านหน้าเมนวาล์วยกลูกสูบเมนวาล์ว ลอยตัวขึ้น

โดยชนะสปริงที่กดเมนวาล์ว น้ำมันในระบบระบายลงถังโดยตรง เป็นการ

ช่วยลดความดันที่สูงขึ้นให้กลับมาอยู่ในสภาพปกติและรักษาความดัน

ให้คงที่ (เลือกที่เมนวาล์วสีขาว)