วาล์วควบคุมอัตราไหล (Flow control valve)

 วาล์วควบคุมอัตราการไหลจะใช้ควบคุมความเร็วของลูกสูบโดยการปรับ

เปลี่ยนขนาดของช่องทางของวาล์วที่ให้น้ำมันไหลผ่าน

1. วาล์วปรับอัตราการไหล (Throttle valve)

t

การทำงาน

 เมื่อเราคลายสกรูออก ช่องทางน้ำมันจะเปิดกว้างส่งผลให้อัตราการไหล

มาก แต่เมื่อหมุนสกรูเข้า ช่องทางน้ำมันจะแคบเข้าอัตราการไหล

จะน้อยลง

ในการนำวาล์วนี้ไปใช้งานในการควบคุมความเร็วลูกสูบ ความเร็วลูกสูบ

จะไม่คงที่ ซึ่งเป็นเพราะความดันในระบบไม่คงที่ ทำให้อัตราการไหล

ของน้ำมันผ่านวาล์วไม่คงที่

2. วาล์วปรับอัตราการไหลทางเดียว

 (One way flow control valve)

o

วาล์วนี้เป็นวาล์วที่มีวาล์วกันกลับอยู่ภายใน ซึ่งเราจะใช้วาล์วนี้ในกรณีที่

ต้องการให้ก้านสูบเคลื่อนที่ออกช้าๆ แต่กลับด้วยความเร็วปกติ       

 การทำงาน

 เมื่อน้ำมันไหลจากรู 1 ไปรู 2 น้ำมันจะผ่านได้เฉพาะวาล์วปรับอัตรา

การไหล แต่เมื่อน้ำมันไหลจากรู 2 ไปรู 1 น้ำมันจะดันวาล์วกันกลับ

ให้เปิดขึ้น ดังนั้นน้ำมันจะไหลผ่านวาล์วกันกลับได้ ส่งผลให้น้ำมันไหล

ได้มาก (เลือกที่รูหมายเลข 2 )

3. วาล์วปรับอัตราการไหลแบบมีการชดเชยความดัน

 (Pressure compensator flow control valve)

tc

ในบางครั้งเรียกวาล์วนี้ว่าวาล์วปรับอัตราการไหลคงที่

ในความเป็นจริงแล้วขณะที่เครื่องจักรกำลังทำงานนั้นความดันของน้ำมัน

ในระบบจะไม่คงที่ ในงานบางอย่างที่ต้องการความถูกต้องแม่นยำสูง

จำเป็นที่จะต้องรักษาอัตราการไหลของน้ำมันให้คงที่  

การทำงาน 

วาล์วชดเชยความดันจะทำหน้าที่ปรับอัตราการไหลของน้ำมันตามความดันด้าน

ทางเข้า นั่นคือถ้าความดันทางเข้ามากวาล์วชดเชยความดันจะเลื่อนไป

ทางขวามือ แต่ถ้าความดันทางเข้าน้อยวาล์วชดเชยความดันจะเลื่อนไป

ทางด้านซ้ายมือ (เลือกที่ลูกสูบวาล์วชดเชยความดัน)

 

การใช้วาล์วควบคุมอัตราการไหลในวงจรไฮดรอลิก

วาล์วควบคุมอัตราการไหลที่ถูกนำมาใช้ในวงจรไฮดรอลิกคือวาล์วปรับ

อัตราการไหลทางเดียว (One way flow control vale) เพื่อควบคุม

ความเร็วของลูกสูบ ซึ่งวิธีการใช้มี 2 วิธีคือ

        1. แบบควบคุมน้ำมันเข้า (Meter in )

 min

การควบคุมด้วยวิธีนี้จะควบคุมการไหลของน้ำมันที่ไหลเข้าไปใน

กระบอกสูบ ข้อดีของการควบคุมวิธีนี้คืออายุการใช้งานของซีลค่อนข้าง

ยาวนาน ข้อเสียของการควบคุมวิธีนี้คือไม่สามารถล๊อคการเคลื่อนที่

ได้หากโหลดเป็นลบ(แรงดึง) ซึ่งลูกสูบจะเลื่อนออกไปด้านหน้า

ไม่เหมาะกับกระบอกสูบขนาดใหญ่ที่ต้องการการเคลื่อนที่ช้าๆ

เพราะจะทำให้การเคลื่อนที่ไม่เรียบ

2. แบบควบคุมน้ำมันออก (Meter out)

mout

การควบคุมวิธีนี้เป็นการควบคุมน้ำมันที่ไหลออกจากกระบอกสูบ

ข้อดีของการควบคุมวิธีนี้คือโหลดจะถูกต้านแม้โหลดจะเป็นลบหรือแรงดึง

และจะไม่เกิดการกระตุกเหมือนการควบคุมน้ำมันเข้า

ข้อเสียของการควบคุมวิธีนี้คือเมื่อควบคุมให้ก้านสูบเคลื่อนที่ออกจะเกิด

ความดันต้านในท่อไหลออก ซึ่งซีลก้านสูบจะรั่วได้ง่าย