พร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจจับ ซึ่งทำงาน
โดยไม่ต้องสัมผัสหรืออาศัยการกระทำทางกล แต่จะอาศัยคลื่น
สนามแม่เหล็กไฟฟ้า คลื่นแสง คลื่นเสียง ร่วมกับวงจรอิเลกทรอนิกส์ใน
การตรวจจับและทำงาน ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง
และนิยมนำมาใช้ในการควบคุมเท่านั้น
เซนเซอร์แบบเหนี่ยวนำเป็นเซนเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับชิ้นงานที่เป็นโลหะ
เท่านั้น เซนเซอร์แบบนี้มีส่วนประกอบหลักที่สำคัญคือ ขดลวด (coil)
วงจรกำเนิดความถี่ (oscillator) วงจรกระตุ้นให้ทำงาน (trigger circuit)
และอุปกรณ์ตัดต่อด้านเอาต์พุต (output switching device)
หลักการทำงานที่บริเวณส่วนหัวจะมีคลื่นสนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สูง
ออกจากชุดขดลวดซึ่งเป็นผลมาจากวงจรกำเนิดความถี่ที่ป้อนให้
ในกรณีที่มีวัตถุเป็นโลหะเข้ามาในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก
จะทำให้ค่าความเหนี่ยวนำของขดลวดมีการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะถูกแยกแยะด้วยวงจรกระตุ้นว่าให้
อุปกรณ์เอาต์พุตทำงานหรือไม่ทำงาน
เซนเซอร์แบบเก็บประจุ เป็นเซนเซอร์ที่สามารถใช้ในการตรวจจับชิ้นงาน
ได้ทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะ เซนเซอร์แบบนี้มีส่วนประกอบหลักคล้ายกับ
เซนเซอร์แบบเหนี่ยวนำ แต่จะมีส่วนที่แตกต่างกันเฉพาะบริเวณ
ส่วนหัวหรือส่วนที่ใช้ในการตรวจจับเท่านั้น คือเซนเซอร์แบบเก็บ
ประจุจะใช้แผ่นเพลต (plate) แทนชุดขดลวด
3. เซ็นเซอร์ชนิดใช้แสง (Photo optic sensor)
เซ็นเซอร์แบบนี้จะใช้แสงอินฟาเรดในการตรวจจับวัตถุโดยจะใช้ LED เป็นตัวกำเนิดและส่งคลื่นแสง และใช้ Photo Diode
หรือ Photo Transistor เป็นตัวรับแสง โครงสร้างหลักและหลักการทำงาน
พื้นฐานของเซ็นเซอร์ชนิดใช้แสงประกอบด้วยส่วนสำคัญหลักอยู่ 2
ส่วนด้วยกัน คือ ตัวส่งสัญญาณ (Emitter) และตัวรับสัญญาณ (Reciever)
ซึ่งทั้งนี้อาจจะรวมอยู่ในตัวเดียวกันหรือแยกกันอยู่คนละที่ก็ได้
เซ็นเซอร์ในภาพเป็นเซ็นเซอร์ที่ตัวส่งและตัวรับรวมอยู่ในตัวเดียวกัน
ในการทำงานจะต้องมีแผ่นสะท้อนแสงเพื่อสะท้อนแสงจากตัวส่งไปยัง
ตัวรับการใช้ Proximity sensor ในวงจรนิวแมติก