การกำหนดโค้ดลงบนอุปกรณ์ต่างๆ ในวงจรนิวแมติก
การกำหนดโค้ดลงบนอุปกรณ์ต่างๆ ในวงจรนิวแมติก ที่นิยมกันมากมีอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบใช้ตัวเลขและระบบใช้ตัวอักษร
เป็นระบบที่นิยมใช้กันในทางปฏิบัติ โดยใช้ตัวเลข 1.1, 1.1, 1.2,… 2.0, 2.1, 2.2,…3.0, 3.1, 3.2… ตัวเลขหน้าทศนิยมหมายถึงอุปกรณ์ทำงานซึ่งขึ้นอยู่กับว่ามีอุปกรณ์ทำงานกี่ตัว ส่วนตัวเลขที่อยู่หลังจุดทศนิยมมีความหมายดังนี้
.0 คืออุปกรณ์ทำงาน
.1 คืออุปกรณ์บังคับการทำงานของกระบอกสูบหรือมอเตอร์ลม เช่นเมนวาล์ว
.2, .4 เป็นเลขคู่ เป็นอุปกรณ์ที่มีอิทธิพลบังคับให้กระบอกสูบเคลื่อนที่ออก
.3, .5 เป็นเลขคี่ เป็นอุปกรณ์ที่มีอิทธิพลบังคับให้กระบอกสูบเคลื่อนที่เข้า
.01, .02 คืออุปกรณ์ที่อยู่ระหว่างอุปกรณ์ทำงานกับอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน เช่นวาล์วควบ คุมปริมาณการไหลของลม บังคับให้กระบอกสูบเคลื่อนที่ออกช้าหรือเร็ว
โดยทั่วไปจะกำหนดให้อุปกรณ์ทำงานใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ
์ใหญ่ ส่วนอุปกรณ์ป้อนสัญญาณจะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก
ความหมายของตัวอักษรเป็นดังนี้
A, B, C คืออุปกรณ์ทำงาน
a 0 ,b 0, c 0 คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่จำกัดระยะซึ่งจะอยู่ตำแหน่งถูก
กดเมื่อก้านสูบเลื่อนกลับสุด
a 1, b 1, c 1 คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่จำกัดระยะ ซึ่งจะอยู่ตำแหน่งถูกกด
เมื่อก้านสูบเลื่อนออกสุดหลักการโดยทั่วๆไปของระบบตัวอักษรนี้คล้าย
กับการออกแบบวงจรทางไฟฟ้า
การเขียนขั้นตอนการเคลื่อนที่
การเขียนขั้นตอนการเคลื่อนที่ มีวิธีกำหนดอยู่ 2 วิธี คือ
กำหนดโดยใช้ลูกศร หรือใช้เครื่องหมายบวก (+) ลบ (-)
และกำหนดโดยใช้ไดอะแกรม
โดยที่ลูกศรชี้ไปด้านขวามือหมายถึงการเคลื่อนที่ของก้านสูบเลื่อนออก
และลูกศรชี้ไปด้านซ้ายมือ หมายถึงการเคลื่อนที่ของก้านสูบเลื่อนเข้า
โดยที่ + หมายถึงการเคลื่อนที่ของก้านสูบเลื่อนออก และ -
หมายถึงการเคลื่อนที่ของก้านสูบเลื่อนเข้า
เช่น A + แสดงว่าก้านสูบ A เคลื่อนที่ออก
หรือ A - แสดงว่าก้านสูบ A เคลื่อนที่เข้า
ไดอะแกรมจะแสดงการทำงานของอุปกรณ์ในแต่ละรอบของจังหวะงาน
โดยแบ่งเป็นไดอะแกรมการเคลื่อนที่ ไดอะแกรมบังคับและ
ไดอะแกรมหน้าที่
จะแสดงให้เห็นการบังคับการเคลื่อนที่ของก้านสูบ ซึ่งจะใช้เส้นกราฟ
ที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงเอียงทำมุมกับแนวราบ โดยแกนตั้งเป็น
แกนของระยะชัก ส่วนแกนนอนเป็นเวลาของการเคลื่อนที่ของก้านสูบ
จากรูปแสดงว่าในจังหวะที่ 1 ก้านสูบเคลื่อนที่ออกจนสุดระยะชัก
ระหว่างจังหวะที่ 1 กับจังหวะที่ 2 เรียกว่า 1 จังหวะ (Step)
ก้านสูบจะค้างอยู่ในตำแหน่งนี้ 2 จังหวะคือจังหวะที่ 2 ถึงจังหวะที่ ี่ 4
หลังจากนั้นก้านสูบจะเคลื่อนที่กลับจากจังหวะที่ 4 ถึงจังหวะที่ 5
เมื่อก้านสูบกลับมาที่เดิมแล้วถือว่าการทำงานของก้านสูบครบ 1
รอบการทำงาน ซึ่งประกอบด้วยกันทั้งหมด 5 จังหวะ สำหรับใน
กรณีที่มีกระบอกสูบหลายกระบอกสูบ เราถือว่ากระบอกสูบทุกตัวเริ่มการ
ทำงานจนกระทั่งกลับที่เดิมทั้งหมดเรียกว่า 1 รอบการทำงาน
จะเป็นไดอะแกรมที่แสดงการทำงานของวาล์วควบคุมเมื่อ
มีสัญญาณผ่านวาล์ว จะแสดงด้วยเส้นตั้งฉากกับแนวราบ โดย
ไม่่คำนึงถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเลื่อนตำแหน่งของอุปกรณ์
ประโยชน์ของไดอะแกรมบังคับคือจะทำให้รู้ว่าสัญญาณลมสู้กัน
ที่เมนวาล์วหรือไม่เพื่อจะได้แก้ไขปัญหาได้ถูกต้อง
![]()
ไดอะแกรมหน้าที่
เป็นการนำเอาไดอะแกรมการเคลื่อนที่มาใช้ร่วมกับไดอะแกรมบังคับ
เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการทำงานของวาล์วควบคุมกับการ
เคลื่อนที่ของก้านสูบ เพื่อกำหนดสัญญาณบังคับไปกระทำที่วาล์วควบคุม
บังคับให้ก้านสูบทำงานในจังหวะต่อไป